หน้าเว็บ

ข่าวทันหุ้นวันนี้

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เข้าสู่ช่วงกลางไตรมาส 1 กันแล้ว ฤดูประกาศผลประกอบการก็มาได้เกินครึ่งทาง

เข้าสู่ช่วงกลางไตรมาส 1 กันแล้ว ฤดูประกาศผลประกอบการก็มาได้เกินครึ่งทาง
ตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงแรกของปีที่ดูซึมๆ ก็ได้่ยาแรงจาก ECB ที่ประกาศทำ QE ในช่วงปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา

ไปดูกันครับ ว่าจนถึงตอนนี้ประเทศแกนหลักของโลก (Developed Markets) หน้าตาเขาดูดีขนาดไหน

ในแง่ผลประกอบการ
บริษัทจดทะเบียนในญี่ปุ่น รายงานไปแล้วเกินกว่า 98% เหลืออีกไม่ถึง 20 บริษัท ก็จะประกาศงบปี 2014 กันครบ ผลปรากฏว่า Earnings per share หรือ EPS โตขึ้นจากปีก่อนน่าที่ +2% YoY ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับที่อื่นของโลก แต่หากเทียบกับข้อมูลในอดีตของ TOPIX หรือ Nikkei แล้ว นักลงทุนในญี่ปุ่นก็ตาลุกวาว มีความหวังจาก Abenomics มากขึ้นแน่นอน

ฝั่งสหรัฐฯ รายงานผลประกอบการไปแล้ว 90% โดย EPS โตขึ้น +5.3%YoY หลักๆแล้วก็มาจากราคาพลังงานที่อยู่ในระดับต่ำช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ที่ทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทลดลงค่อนข้างมากครับ แต่การแข็งค่าของ USD นั้น อาจเป็นความกังวลเล็กๆต่อบริษัทผู้ส่งออกในสหรัฐฯ แต่หลายบริษัทก็โชว์ตัวเลขออกมาน่าประทับใจ เนื่องจากมีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน และคาดการณ์ไว้แล้วว่า USD จะแข็งค่าในระยะ 1-2 ปีหลังจากนี้ไปแม้ Fed อาจพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ก็ตาม

สุดท้าย ฝั่งยุโรป (Euro Zone) เพิ่งจะประกาศผลประกอบการออกมาราวๆ 36% ของบริษัททั้งหมด เท่านั้น และที่ประกาศออกมาก็ค่อนข้างน่ากังวล เนื่องจาก EPS นั้นโตแค่ 2%YoY และเหตุผลก็ตรงกันข้ามกับสหรัฐฯครับ ผลประกอบการที่แย่มาจากบริษัทผู้ผลิตน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่ Market Cap ใหญ่มากๆอย่าง BP หรือ Royal Dutch Shell ที่เจอขาดทุนไตรมาส 4 เข้าไปจากราคาน้ำมันดิบที่โดนทิ้งเหลือต่ำกว่า $50 แต่เหตุการณ์ในตลาดหุ้นกลับตรงกันข้ามครับ เพราะ ดัชนีอย่าง DAX นั้น นับจากวันแรกของปี ผ่านไปไม่ถึง 2 เดือน กลับวิ่งไปแล้วเกิน 15% จากความคาดหวังเรื่อง QE ขณะที่ FTSE ของอังกฤษ และ CAC40 ของฝรั่งเศสก็บวกกันไป 7% และ 17% ตามลำดับเช่นกัน

ความเคลื่อนไหวในช่วง Earnings Season สะท้อนให้เห็นว่า พลังของความคาดหวังในอนาคต (เชื่อว่า QE ในยุโรป จะทำให้เศรษฐกิจดูดีขึ้น) สามารถกลบข้อเท็จจริงที่อยู่ตรงหน้าไปได้ (ผลประกอบการออกมาไม่สวย)
อย่างไรก็ตาม ผลของการทำ QE นั้นต้องใช้ระยะเวลาในการพิสูจน์ เราจึงต้องตามดูกันต่อไป

ในแง่ของการสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการกองทุนทั่วโลกก็น่าสนใจไม่แพ้กัน
- ผู้จัดการกองทุนยังคงถือเงินสดในพอร์ตเพียง 5% เท่านั้น โดย ณ ปัจจุบัน มีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นยุโรปมากขึ้น โดยให้น้ำหนักการลงทุนในยุโรปสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007 เลยทีเดียว
- กลุ่มอุตสาหกรรมของโลกที่ผู้จัดการกองทุนให้น้ำหนักมากกว่าตลาดก็คือ Autos ซึ่งให้น้ำหนักสูงกว่าตลาดถึง 26% ทีเดียว
- สำหรับตลาดหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) นั้น จากปี 2014 ที่ให้น้ำหนัก Underweight มาปีนี้ กลับมาให้น้ำหนัก Neutral มีมุมมองที่ดีขึ้นครับ

สุดท้าย ถ้าไปดู Fund Flow
เดือน ม.ค. ที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้าลงทุนในกองทุนหุ้นประเภท ETF ทั้งสิ้น $8.2Billion โดยเป็นการลงทุนในกองทุนหุ้น ETF สูงถึง $3.6Billion ด้วยกัน
แต่สำหรับ ETF หุ้นในสหรัฐฯนั้น มีเม็ดเงินไหลเข้า เท่ากับเงินไหลออกจากกองทุนประเภท Active Fund แสดงให้เห็นว่า เริ่มมีนักลงทุนในสหรัฐฯ ไม่ไว้ใจว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปได้อีกนานแค่ไหนมากขึ้นเรื่อยๆครับ

สรุปคือ ที่ใดมี QE ที่นั้นตลาดหุ้นวิ่ง และวิ่งทั้งๆที่ข่าวร้ายเต็มตลาด แต่ตลาดเลือกที่จะให้น้ำหนัก QE มากกว่านั้นเอง
เราเห็นผลของ QE ที่สหรัฐฯมาแล้วว่า ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯวันนี้ดีขึ้นอย่างไร แต่ยาแรง ย่อมมี Side Effect ของมัน วันนี้ QE ที่สหรัฐฯแสดงให้เห็นแล้วว่า Side Effect ของมันก็คือ ทำให้เงินเฟ้อทั่วโลกอยู่ในระดับต่ำ และการฟื้นตัวของโลกหลังวิกฤตปี 2008 มันช้ากว่าที่ควรจะเป็นจนทำให้ประเทศอื่นๆเดือดร้อนกันอยู่ตอนนี้

สำหรับตลาดหุ้นไทย รายงานครบเมื่อไหร่ จะมา Review ให้อ่านกันอีกทีครับ
Mr.Messanger

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หันเล่นหุ้นมือใหม่